มนุษยธรรม ความเมตตากรุณา 仁 ในภาษาจีน

   
สำหรับสังคมจีนที่ช่วงเวลาหลายพันกว่าปีที่ผ่านมาได้รับอิทธิพลจากคำสอนของ ขงจื่อ (孔子) ซึ่งได้บอกว่า
หัวใจของการเป็นมนุษย์ คือ มนุษยธรรม หรือความเมตตากรุณา
หรือในภาษาจีนออกเสียงว่า เหริน 仁 ซึ่งเป็นเสียงเดียวกับคำว่า 人 เหริน ซึ่งแปลว่าคนในภาษาจีน

คำว่า มนุษยธรรม หรือความเมตตากรุณา อาจอธิบายได้สั้น ๆ ว่าเป็นคุณธรรมและความดีงามที่พึงกระทำระหว่างบุคคลต่อบุคคลโดย คำว่า 仁 (rén) เหริน ในภาษาจีนนั้น ประกอบด้วย  คำ 2 คำ ได้แก่ 人 (rén) ซึ่งแปลว่า คน และ 二 (Èr) ซึ่งแปลว่า 2  

โดยในการเขียนคำว่า  仁 (rén) เหริน  นั้น ขีดด้านขวาบน ซึ่งหมายถึง ตนเอง จะสั้นกว่าขีดด้านขวาล่าง ซึ่งหมายถึงผู้อื่น
หมายถึงคนเรานั้นต้องเห็นแก่ผู้อื่นมากกว่าตนเอง

นอกจากนี้ 仁 (rén)  ยังแสดงได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คนเมื่ออยู่ด้วยกันต้องมีมนุษยธรรม

เดิมแล้วคำว่า 仁 เขียนแยกได้เป็น 丨二 ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ หยิน หยาง ซึ่งเส้นแนวตั้ง  丨 คือหยาง แสดงถึงผู้ชาย
ส่วน สองขีดแนวนอน 二 คือ หยิน แสดงถึงผู้หญิง

คำว่า 人 ที่แปลว่า คน, มนุษย์ และ 仁 ซึ่งแปลว่ามนุษยธรรม อ่านเหมือนกันว่า (rén : เหริน) แสดงว่ามนุษย์จะใช้ชีวิตอยู่ไม่ได้หากปราศจากมนุษยธรรม หรือความเมตตา กรุณา หากไร้ซึ่งมนุษยธรรมแล้ว บุคคลผู้นั้นก็ไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นสัตว์เดรฉาน