หม้อไฟ ในภาษาจีนกลางเรียกว่า หั่วกัว 火锅 เรียกกันว่า กู่ต่งเกิง 古董羹 หมายถึง ซุปข้นโบราณ โดยคำว่ากู่ตง 古董 คือเสียงที่เกิดขึ้นเมื่ออาหารถูกเทลงในน้ำเดือด
หม้อไฟ ถือเป็น อาหารต้นตำรับของจีนชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงวิธีการปรุงอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนอีกด้วย
คำว่า หม้อไฟ โดยทั่วไป หมายถึง วิธีการปรุงอาหารโดยใช้หม้อเป็นภาชนะ ใช้แหล่งความร้อนในการต้มน้ำหรือซุปเพื่อปรุงอาหารต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังหมายถึง หม้อที่ใช้ในการปรุงอาหาร ประเภทนี้ อีกด้วย ลักษณะพิเศษอาหารจานหม้อไฟ คือ สามารถรับประทานได้ในขณะปรุงอาหารไปด้วย
หม้อไฟที่ใช้ปรุงอาหารหรือใส่น้ำซุปนั้น ส่วนใหญ่เป็นหม้อกลม หรือ หม้อสี่เหลี่ยม เริ่มต้นตั้งแต่ 1 ช่อง 2 ช่อง (เรียกว่า หม้อยวนยาง 鸳鸯锅) 3 ช่อง 4 ช่อง และมากที่สุดคือ 9 ช่อง ซึ่งเป็นหม้อไฟของเมืองฉงชิ่ง
สำหรับวัตถุดิบในการรับประทานหม้อไฟนั้น จะแบ่งเป็น
น้ำซุป ซึ่ง น้ำซุปที่ใช้ในหม้อไฟ มีหลายประเภท เช่น ซุปกระดูกหมู ซุปเห็ดหอม ซุปผักดอง ซุปมะเขือเทศ หรือซุปหมาล่า
เนื้อสัตว์ มีความหลายหลาย ทั้ง เนื้อ หมู ไก่ ไส้เป็ด เครื่องในต่าง ๆ อาหารทะเล ผัก ถั่วเหลือง เห็ด ไข่
เมื่อจะปรุงหม้อไฟ ก็ให้ใส่น้ำซุปลงไปในหม้อ แล้ว ใส่เนื้อและผักลงไป
ต้นกำเนิดของหม้อไฟ
มีการค้นพบแหล่งที่มาของเมนูหม้อไฟไว้ 2 ทฤษฎี คือ
หม้อไฟมีมาตั้งแต่ในสมัยจ้านกั๋ว โดยใช้หม้อดินเผาในการปรุงหม้อไฟ
ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่ง เชื่อว่า หม้อไฟมีมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยคำว่า โต้ว 斗 หมายถึงหม้อไฟ โดยมีการขุดค้นพบภาชนะที่มีลักษณะเป็นหม้อไฟในหลุมศพไห่หุนโหว 海昏侯 ขุนนางแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ที่เมืองหนานชาง มณฑลเจียงซี ซึ่งหมายความว่า หม้อไฟ เกิดขึ้นมานานเป็นพันปี
ใน“คัมภีร์เว่ย” 《魏书》 ยังบันทึกว่าในสมัยสามก๊ก ผู้คนใช้หม้อไฟในการปรุงเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว แกะ ไก่ ปลา ฯลฯ แต่ไม่ได้รับความนิยมในเวลานั้น
ในเวลาต่อมาการปรุงหม้อไฟ มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ โดยในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ การรับประทานหม้อไฟถือเป็นเรื่องปกติในหมู่ผู้คน โดยในร้านเหล้าในเมืองไคเฟิง เปียนจิง ต่างมีหม้อไฟ ในช่วงฤดูหนาว
ส่วนในสมัยซ่งใต้ ในบันทึกซานเจียชิงกง 山家清供 โดยหลินหง 林洪 ซึ่งเป็นบันทึกเคล็ดลับการทำอาหาร กล่าวถึงวัตถุดิบ และวิธีการปรุงอาหารต่าง ๆ ก็มีการกล่าวถึง การทำหม้อไฟ
ในสมัยราชวงศ์หยวน หม้อไฟแพร่หลายไปถึงยังมองโกเลีย ส่วนในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง หม้อไฟไม่เพียงแต่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวบ้านเท่านั้น แต่ได้ยกระดับกลายเป็นอาหารในวัง โดยมีวัตถุดิบล้ำค่า นำมาใช้ปรุงหม้อไฟ
ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง และช่วงเริ่มต้นของสาธารณรัฐจีน ได้มีการก่อตั้งร้านหม้อไฟหลายแห่งทั่วประเทศ โดยแต่ละร้านมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง
พอมาถึงในช่วงสมัยมูโรมาจิ 室町时代 ของญี่ปุ่น หม้อไฟได้แพร่หลายเข้าสู่ญี่ปุ่น ในปี 1338 ในญี่ปุ่น ซึ่งเรียกหม้อไฟว่า “สุกี้ยากี้” 寿喜烧(すきやき)จนปัจจุบันหม้อไฟ ได้หลายไปเป็นที่รู้จักทั่วโลก