หยวนหลงผิง บิดาแห่งข้าวลูกผสม

ข้าวลูกผสม Hybrid Rice เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการเกษตร

ข้าวลูกผสมคือพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวสายพันธุ์แท้สองสายพันธุ์ที่มีฐานพันธุกรรมต่างกันซึ่งให้ลักษณะทางด้านปริมาณและคุณภาพที่ดีกว่าพันธุ์พ่อหรือพันธุ์แม่

เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่นำมาใช้ปลูก จึงต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์ใหม่ทุกปี ซึ่งแตกต่างจากการทำนาโดยทั่วไปที่สามารถใช้เมล็ดพันธุ์แท้จากแปลงปลูกในปีก่อนมาทำพันธุ์ได้

เพราะเทคโนโลยีข้าวลูกผสมได้นำเอาหลักการความแข็งแรงของลูกผสมที่ดีเด่นกว่าพันธุ์พ่อและพันธุ์แม่ Hybrid vigor ในการให้ผลผลิตที่สูงกว่ามาใช้

การปลูกข้าวพันธุ์ผสมนั้นให้ข้อดีเรื่องผลผลิตที่มากกว่า โดยไม่ต้องใช้พื้นที่ปลูกเพิ่ม ข้าวที่ปลูกมีความแข็งแรงกว่า ทำให้ลดการใช้ยาฆ่าแมลง หรือสารเคมี เนื่องจากสายพันธุ์ลูกผสม เป็นการเลือกเอาจุดเด่นของพันธุ์ข้าวต้นสายพันธุ์ ที่ต้านทานโรคได้มากกว่า และยังใช้น้ำในการปลูกที่น้อยกว่า

หยวนหลงผิง 袁隆平 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสมแห่งชาติจีน ผู้คิดค้นข้าวลูกผสมเป็นผลสำเร็จ จนได้รับการขนานนามจากนานาชาติว่าเป็น บิดาแห่งข้าวลูกผสม

หยวน หลงผิง เกิดในปี 1930 ที่ปักกิ่ง แต่บ้านเดิมของเขาอยู่ที่มณฑลเจียงซู

ในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ครอบครัวเขาต้องย้ายบ้านหลายครั้ง ทำให้เขาได้รับการศึกษาจากหลายสถานที่ เขาจบการศึกษาในด้านการเกษตรจาก มหาวิทยาลัยซีหนานในปี 1953 และเริ่มทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในมณฑลหูหนาน

ในช่วงต้นทศวรรษปี 1960s เขาเริ่มมีความคิดในการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าว และได้เริ่มเก็บพันธุ์ข้าวมาใช้ทดลองสำหรับการผสมกันจนเป็นพันธุ์ผสม

ปัญหาสำคัญของการคิดค้นข้าวพันธุ์ผสม คือการผลิตเม็ดพันธ์ให้ได้จำนวนมาก เพื่อนำไปเพาะปลูก จนต่อมาเขาสามารถคิดค้นข้าวพันธุ์ลูกผสม หรือ Hybrid Rice ได้ในปี 1973

ความสำเร็จของหยวนหลงผิง ทำให้ประเทศจีน ประสบความสำเร็จในการเพาะปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตมากขึ้น และช่วยผู้คนจำนวนมาดให้พ้นจากความหิวโหย

ความใฝ่ฝันของหยวนหลงผิง บิดาแห่งข้าวลูกผสมของจีนนั้นมีอยู่ 2 เรื่อง คือ

1. การได้พาเพื่อนไปปนั่งอยู่ใต้ร่มเงาเมล็ดข้าวสูงขนาดเท่าตัว ซึ่งแสดงว่าต้นข้าวสามารถเติบโตจนสูง รวงข้าวยาวเหมือนไม้กวาด เมล็ดข้าวเหมือนดอกไม้

2. ข้าวพันธุ์ลูกผสมได้รับการปลูกไปทั่วโลก โดยหากมีการปลูกข้าวลูกผสมให้ได้เพียงครึ่งหนึ่งของโลกก็จะสามารถช่วยเลี้ยงชีพประชากรโลกไม่ให้อดอยากหิวโหยได้

ปัจจุบันเทคโนโลยีพันธุ์ข้าวลูกผสมเป็นที่ยอมรับขององค์กรนานาชาติต่าง ๆ เช่น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ Food and Agriculture Organization – FAO สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ International Rice Research Institute-IRRI สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nation Development Programme –UNDP ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย Asian Development Bank-ADB ได้ให้การสนับสนุนด้านปรับปรุงพันธุ์และเผยแพร่พันธุ์ข้าวลูกผสมแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

หยวนหลงผิงเองได้รับรางวัล World Food Prize สำหรับความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งช่วยลดปัญหาความขาดแคลนด้านอาหาร เมื่อ 29 มีนาคม ปี 2015 โดยรางวัลดังกล่าวได้รับการยอมรับกลาย ๆ ว่าเป็นรางวัลโนเบลสำหรับวงการอาหารและการเกษตร

สำหรับในประเทศไทยได้เริ่มมีการนำพันธุ์ข้าวลูกผสมมจากจีนมาตั้งแต่ปี 1979 และเริ่มทดลองปลูกในปี 1980 แต่ปัจจุบัน เมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมที่เข้าสู่ตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวยังเป็นปริมาณที่ต่ำมาก ดังนั้นพันธุ์ข้าวลูกผสมจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกของเกษตรกรไทย 

ขอบคุณ ข้อมูล