วันชิวเฟิน 秋分 วันศารทวิษุวัต

วันศารทวิษุวัต  Autumn Equinox หรือชิวเฟิน 秋分 เป็นฤดูกาลที่ 16 ใน 24 ฤดูกาลจีน เกิดขึ้นประมาณวันที่ 22 หรือ 23 กันยายน ของทุกปี

ความหมาย

วันชิวเฟินเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร หรือ ดวงอาทิตย์ทำมุม 0° ดังนั้น จึงเป็นวันราตรีเสมอภาค คือ วันที่ช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ในฤดูใบไม้ร่วง ถือเป็นวันสมดุลของหยิน-หยาง

ทั้งนี้ ยังมีวันที่ช่วงเวลากลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะเรียกว่าวันวสันตวิษุวัต หรือชุนเฟิน 春分

ทั้งนี้ เมื่อผ่านวันชิวเฟินไป อากาศจะเริ่มเย็นขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ฤดูหนาวต่อไป

วันกลางฤดูใบไม่ร่วง

นอกจากจะเป็นวันที่แบ่งช่วงเวลากลางวันและกลางคืนให้ยาวเท่ากันแล้ว วันชิวเฟินยังเป็นวันกึ่งกลางของฤดูใบไม้ร่วงซึ่งโดยปกติจะมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือน

เทศกาลวันไหว้พระจันทร์

วันไหว้พระจันทร์ หรือจงชิวเจี๋ย 中秋节 แปลความหมายตรงตัว ว่าเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง โดยมีเรื่องเล่ามาว่า ตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์โจว กษัตริย์จะทำการบูชาดวงอาทิตย์ในช่วงวันชุนเฟิน และบูชาดวงจันทร์ในวันชิวเฟิน

ตำนานวันไหว้พระจันทร์

ดอกไม้ประจำวันชิวเฟิน

ช่วงวันชิวเฟิน เป็นช่วงดอกเบญจมาศ หรือดอกจวี๋ฮัว (ดอกเก๊กฮวย) 菊花 บาน ซึ่งในสมัยโบราณจะมีวันชมดอกเบญจมาศ ในวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินจีน

ดอกหอมหมื่นลี้ หรือ ดอกกุ้ยฮัว 桂花  ในประเทศจีนใช้ดอกหอมหมื่นลี้ผสมในชาเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม เรียกว่า ชากุ้ยฮัว

ดอกหอมหมื่นลี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกุ้ยหลินในประเทศจีน คำว่า กุ้ยหลิน 桂林 หมายถึง ป่าต้นหอมหมื่นลี้

ตำนานอู๋กังตัดต้นหอมหมื่นลี้ หนึ่งในตำนานวันไหว้พระจันทร์

กิจกรรมตั้งไข่

การตั้งไข่ในวันชิวเฟิน หรือชุนเฟิน ถือเป็นประเพณีของชาวจีน โดยเชื่อกันว่าผู้ที่สามารถตั้งไข่ให้ตรงได้จะเป็นผู้ที่มีโชคดี

ติดตามเรื่องเล่าจีนได้ที่ ช่อง chinatalks และ fanpage Chinatalks