สามคล้อยตาม สี่คุณธรรม 三从,四德。

สามคล้อยตาม สี่คุณธรรม 三从, 四德 คือ แนวคิดของขงจื้อ เพื่อใช้อบรมหญิงสาวในสมัยจีนโบราณ

สามคล้อยตาม 三从

หลักสามคล้อยตาม 三从 ถูกพบช่วงสมัยราชวงศ์โจว และฮั่น ในคัมภีร์ “อี๋หลี่ ซังฝู จื่อเซี่ยจ้วน”《仪礼·丧服·子夏传》ของสำนักขงจื่อ ขณะการถกเถียงปัญหาเรื่องระยะเวลาการไว้ทุกข์ของหญิงสาวให้แก่บิดาและสามี โดยคำสอนนี้ได้แบ่งแยกย่อยของเป็นสามสภาวะคือ ก่อนแต่งงาน, แต่งงานแล้ว และหลังสามีตาย

• 未嫁从父 (Wèi jià cóng fù) หญิงสาวที่ยังไม่ออกเรือนก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของบิดา

• 出嫁从夫 (Chūjià cóng fū) แต่งงานแล้วก็ต้องเชื่อฟังคำสามี

• 夫死从子 (Fū sǐ zòng zǐ) หากสามีตายต้องเชื่อฟังบุตรชาย

สี่คุณธรรม 四德

หลักสี่คุณธรรม 四德 ปรากฏครั้งแรกใน บันทึก “โจวหลี่ เทียนกวน เน่ยไจ่” 《周礼 天官 内宰》ของนางกำนัลอาวุโสที่ทำหน้าที่สอนมารยาท พิธีการ และความสามารถต่างๆ ให้หญิงสาวในวัง ต่อมาได้กลายเป็นมาตรฐานหลักที่ใช้วัดคุณสมบัติของหญิงสาวโดยทั่วไป หลักสี่คุณธรรม ประกอบด้วย

• 妇德 (Fù dé) ต้องมีคุณธรรมดี ดำรงอยู่ในกรอบที่ควร กิริยามารยามเพียบพร้อม

• 妇言 (Fù yán) มีมธุรสวาจา (พูดจาอ่อนน้อม อ่อนหวาน สัตย์ซื่อ ไม่เล่นลิ้น)

• 妇容 (Fù róng) รูปร่างหน้าตาสะอาดสะอ้าน

• 妇功 (Fù gōng) การบ้านการเรือนไม่ขาด