วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)

วัดมังกรกมลาวาส หรือวัดเล่งเน่ยยี่ ตั้งอยู่บริเวณถนนเจริญกรุง ย่านเยาวราช ชาวไทยเชื้อสายจีนคุ้นเคยกันในชื่อวัดมังกร โดยมาจากชื่อจีน คำว่า เล่ง หรือเล้ง ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึงมังกร เน่ย หมายถึงดอกบัว ส่วนคำว่ายี่ หมายถึงวัด ส่วนภาษาจีนกลางจะอ่านออกเสียงวัดมังกร ว่า หลงเหลียนซื่อ 龙莲寺

วัดมังกรกมลาวาส สร้างขึ้นเมื่อปี 1971 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงกรุณาโปรดกล้าฯ ให้เลือกที่ดินเพื่อตั้งวัดเนื้อที่ 4ไร่ 18 ตารางวา โดยให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเจ้ากรมท่าซ้ายร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนก่อสร้างใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 8 ปี จึงแล้วเสร็จ ถือเป็นวัดจีน นิกายมหายานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังทรงพระราชทานนามว่า “วัดมังกรกมลาวาส”

นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาเชิญพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร (สกเห็งโจวซือ) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปแรกในประเทศไทย และเป็นปฐมบูรพจารย์ของวัดมังกรกมลาวาส

สกเห็งโจวซือ

สถาปัตยกรรมของวัดมังกรกมลาวาสนั้น เป็นการวางผังตามแบบลักษณะสถาปัตยกรรมจีนทางตอนใต้ โดยมีลักษณะแบบสกุลช่างแต้จิ๋วเป็นหลัก การวางผังถืดตามแบบพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ตัวอาคารจะวางล้อมลานเรียกว่า “ ซี่เตี่ยมกิม ” เป็นแบบ เฉพาะของตัวอาคารพื้นถิ่นแต้จิ๋ว การจัดวางวิหารถือตามแบบวังหลวง โดยมีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก อุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ตัวอาคารทั้งหมดในวัดประกอบด้วยอิฐและไม้ เป็นโครงสร้างสำคัญ

หน้าประตูวัดมีป้ายจารึกชื่อวัดเป็นภาษาไทยว่า “ ทรงพระราชทานนามวัดมังกรกมลาวาส ” และมีป้ายสีแดงภาษาจีนทำ จากไม้ที่เป็นลายมือของพระอาจารย์สกเห็ง ( เจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ) ประตูทางเข้าทั้งสองด้านมีป้ายแขวนคำโคลงคู่มีความ หมายว่า
          – ป้ายด้านซ้ายมือ หมายความว่า “ มังกรเหินสู่สวรรค์ ณ ถิ่นนี้ ”
          – ป้ายด้านขวา หมายความว่า “ ประทุมประทีปส่องสว่างกลางเวหา ”

          โคลงนี้เป็นโคลงที่แต่งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง โดยจักรพรรดิกวงซื่อ ในปี ค.ศ. 1879 และถือได้ว่าเป็นงานศิลปะด้านการเขียน ลายมือจีนที่มีค่ามากชิ้นหนึ่ง

วิหารท้าวจตุโลกบาล 

จากประตูทางเข้า จะพบกับท้าวจตุโลกบาล ทั้ง 4 (ข้างละ 2 องค์) เทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ

อุโบสถของวัด มีพระประธานของวัด คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งหมด 3 องค์ หรือ “ซำป้อหุกโจ้ว” พร้อมพระอรหันต์ อีก 18 องค์

ด้านข้างของอุโบสถเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อของเต๋าและเทพเจ้าตามความเชื่อของจีน เช่น ไฉ่ซิงเอี๊ย โอสถราชา เทวแพทย์ฮั่วท้อ ไท่ส่วยเอี๊ย

ไฉ่ซิงเอี๊ย โอสถราชา เทวแพทย์ฮั่วท้อ ไท่ส่วยเอี๊ย
วิหารเทพวานร

พระฮุ่ยเหนิง ฮุยเหนิงโจวซือ (หลักโจ้ว) สังฆปรินายกองค์ที่ 6 ในนิกายเซนนับจากพระโพธิธรรม พระโภชนปาลโพธิสัตว์ (ก่ำแจผู่สัก)   และ พระสังฆารามปาลโพธิสัตว์ (แคน่ำผู่สัก, กวนอู)

รวมเทพเจ้าในวัดมังกร จำนวนทั้งหมด 58 องค์