ปีชง เป็นความเชื่อในทางโหราศาสตร์จีน หมายถึง “การปะทะ” หรือการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นก็อาจมีได้ทั้งเรื่องร้ายและเรื่องดี
นอกจากปีชงแล้ว ยังมีปีที่เรียกว่าปีชงร่วม ประกอบไปได้วย ปีคัก ปีเฮ้ง ปีผั่ว โดย ชง เฮัง ไห่ ผั่ว ของ 12 รอบนักษัตร มีดังนี้
ปีคักชงตัวเอง | ปีชง ปะทะ | ปีเฮ้งโทษทัณฑ์ | ปีไห่ถูกให้ร้าย | ปีผั่วเจ็บป่วย |
ชวด | มะเมีย | เถาะ | กุน | ระกา |
ฉลู | มะแม | มะโรง | ชวด | จอ |
ขาล | วอก | มะเส็ง | ฉลู | กุน |
เถาะ | ระกา | มะเมีย | ขาล | ชวด |
มะโรง | จอ | มะแม | เถาะ | ฉลู |
มะเส็ง | กุน | วอก | มะโรง | ขาล |
มะเมีย | ชวด | ระกา | มะเส็ง | เถาะ |
มะแม | ฉลู | จอ | มะเมีย | มะโรง |
วอก | ขาล | กุน | มะแม | มะเส็ง |
ระกา | เถาะ | ชวด | วอก | มะเมีย |
จอ | มะโรง | ฉลู | ระกา | มะแม |
กุน | มะเส็ง | ขาล | จอ | วอก |
การไหว้แก้ปีชง
ตามความเชื่อของคนจีน วิธีแก้ปีชงคือให้ไปไหว้องค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา เพื่อจะช่วยบรรเทาเคราะห์กรรม และช่วยเสริมสิริมงคลชีวิต ผ่อนร้ายให้กลายเป็นเบาได้
ทำบุญแก้ปีชง
นอกจากการไหว้แก้ปีชงแล้ว ยังมีวิธีการทำบุญในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การไปไหว้พระ 9 วัด, การทำบุญช่วยชีวิตสัตว์ อย่างการไถ่ชีวิตโค กระบือ ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือแม้แต่การบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือชีวิตคนก็ถือเป็นการทำบุญแก้ชงได้เช่นเดียวกัน