36 กลยุทธ์ 三十六计 Thirty-Six Stratagems ตำรารวบรวมกลยุทธ์ของจีนที่ใช้ในการเมือง การสงคราม และการปกครอง
กลยุทธ์ยามพ่าย Defeat Stratagems 败战计
1. กลยุทธ์ที่ 31 สาวงาม The beauty trap (Honeypot) 美人计
2. กลยุทธ์ที่ 32 เปิดเมือง The empty fort strategy 空城计
3. กลยุทธ์ที่ 33 ไส้ศึก Let the enemy’s own spy sow discord in the enemy camp 反间计
4. กลยุทธ์ที่ 34 ทุกข์กาย Inflict injury on oneself to win the enemy’s trust 苦肉计
5. กลยุทธ์ที่ 35 ลูกโซ่ Chain stratagems 连环计
6. กลยุทธ์ที่ 36 หลบหนี If all else fails, retreat 走为上策
กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม
กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง “บัญชาศัตรูได้ จักรักษาตัวรอด” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง รุก” หมายความว่า ต่อข้าศึกที่เข้มแข็ง มิพึงใช้กำลังเข้าปะทะ ควรอาศัยจุดอ่อนของฝ่ายนั้น แทรกซึมและสลายเสีย ต่อตัวเอง พึงสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รักษาและเสริมสร้างกำลังของตนเอง แปรเปลี่ยนสภาพการณ์ เพื่อเอาชนะข้าศึก
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “เมื่อข้าศึกมีความเข้มแข็งดุจกำแพงเหล็ก มิมีจุดอ่อนที่จะทะลวงเข้าไปได้ วิธีเอาชนะแต่เพียงหนึ่งเดียว ก็คือจะต้องแทรกซึมเข้าไปภายในของข้าศึก ดุจดั่งหนอนกินลูกแอปเปิ้ลเจาะไซจากภายในออกมายังภายนอก จนเน่าไปทั้งลูกฉะนั้น และขุนทัพย่อมเป็นหัวใจของกองทัพ เป็นประมุขของไพร่พล ถ้าขุนทัพถูกทะลวงจุดอ่อนจนหลงไหนในรูป รส กลิ่น เสียแล้วไซร้ ก็จะมีอันเป็นไป ไร้สมรรถภาพ จังมิพ่ายแพ้หาได้ไม่”
กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง
กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ “ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง อุบายนี้ เป็นกลยุทธ์ในการใช้วิธีเปิดเมืองหรือปล่อยเมืองวางโล่ง ทำให้ข้าศึกเกิดความงงงวย ใช้ทั้งเท็จและจริง ล่อหลอกให้ข้าศึกถอยไป เพราะมิรู้ตื้นลึกหนาบางอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เท็จเท็จจริงจริง มักมีอยู่ในการศึก ข้าศึกฉวยโอกาสยามเราอ่อนกำลังเราก็จงใจแสร้งทำให้อ่อนปวกเปียกลงไปอีก จนข้าศึกฉุนใจฉวนสงสัย เข้าใจผิดคิดว่าเราพร้อมรบแต่แสร้งลวง เพื่อล่อหลอกให้ตนหลุมพราง นี้ถือเป็นสงครามจิตวิทยา โดยมิได้ใช้กำลังที่แท้เอาชนะข้าศึก แต่ด้วยการพินิจพิจารณาภาวะจิตของแม่ทัพข้าศึก เอาชนะด้วยอุบายอันแยบยล จนข้าศึกหวั่นเกรมถอยทัพกลับไป โดยเรามิต้องพ่ายแพ้เสียทหารไปแม้แต่สักคนในยามคับขัน”
กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้ “มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป ตู้มู่ กวีจีนโบราณซึ่งเคยทำคำอธิบายแก่ “ตำราพิชัยสงความซุนจือ” ในสมัยราชวงศ์ถังกล่าวไว้ว่า “ข้าศึกส่งไส้ศึกมาดูเรา เราพึงล่วงรู้ก่อน หรือติดสนบนด้วยเงินหนา กลับมาให้เราใช้ หรือแสร้งทำไม่รู้ ปล่อยข่าวลวงให้ตายใจ ดังนี้ ไส้ศึกของข้าศึก ก็จึงถูกเราใช้”
กลยุทธ์นี้จึงสรุปได้ว่า “เมื่อฝ่ายตรงข้ามีความระแวงสงสัย พึงทำให้เกิดความระแวงสงสัยเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ซื้อคนขายตัว หรือใช้ไส้ศึกให้เป็นประโยชน์แก่เรา ซุนจื่อเคยแนะนำว่า พึงเอาชนะโดยไม่ต้องรบ ทีสำคัญคือใช้วิถีทางการทูต การใช้อุบายบวกกับกลยุทธ์ไส้ศึก ให้ข้าศึกแตกร้าววุ่นวายปั่นป่วนภายนี้เอง จึงจะชนะได้โดยง่าย”
กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้ “อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้ กลยุทธ์นี้ เป็นอุบายใช้การทำร้ายตัวอง ให้ศัตรูหลงชื่อ เพื่อมึนชาแล้วพิชิตศัตรูอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “คำโบราณของจีนมีกล่าวไว้ว่า “ร่างกาย เส้นผม และผิวหนัง ได้มาจาก บิดามารดา มิควรทำลาย นี้คืออันดับแรกแห่งความกตัญญู” คำคำนี้เป็นทัศนคติที่ฝังลึกอยู่ในมโนธรรมของชาวจีนมาช้านาน ดั้งนั้นการจะทำร้ายร่างกายของตนเอง ยอมสวามิภักดิ์แก่ศัตรูด้วยอุบาย จึงมักจะได้รับความเห็นใจ ให้ความเชื่อถือซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ล้ำลึกกว่า “กลไส้ศึก” เคยได้รับความสำเร็จอย่างงดงามมามากหลายตั้งแต่โบราณกาล”
กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตาม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง กลยุทธ์นี้เรียกว่า “กลลูกโซ่” นี้ หมายถึงอุบายที่ใช้ซ้อนๆกัน ตั้งแต่สองอุบายขึ้นไป เพื่อเอาชัยชนะแก่ศัตรูอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “การใช้กลยุทธ์ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเอาชนะศัตรู ซุนจื่อเคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ใช้กลอุบาย มิควรใช้เพียงหนึ่งเดียว หากควรประกอบด้วยอุบายนานา ถือ หลายอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ หรือร้อยพ้นอุบายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ นี้คือกลยุทธ์ที่ดีที่สุด” และดั้งนั้น จึงเป็นดุจดังคำที่ว่า “แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์นั้นเอง”
กลยุทธ์ที่ 35 หนีคือยอดกลยุทธ์
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึดแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”
กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่เป็นผลดี จะต้องหลีกเลี่ยงกับการสู้รบขั้นแตกหักกับข้าศึก ทางออกจึงมีอยู่ 3 ทาง ยอมจำนน เจตจาสงบศึก ถอยหนี เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การยอมจำนนคือการพ่ายแพ้อย่างถึงที่สุด การขอเจรจาสงบศึกคือการพ่ายแพ้ครึ่งหนึ่ง ถอยหนีกลับอาจจะแปรเปลี่ยนมาเป็นชัยชนะได้ ดั้งนั้นจึงได้เรียกชื่อกลยุทธ์นี้เป็น “หนีคือยอดกลยุทธ์” ถอยหนีพึงถอยเลี่ยงอย่างมีแผนเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นคุณ มิใช้แต่หนีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อทัพอ่อนเผชิญทัพแข็ง มักจะใช้วิธีหนี เพื่อกระจายกำลังข้าศึก เพื่อสร้างโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะนั้นเอง”