ชิดก๊กไซ่ฮั่น สงคราม ฉู่ ฮั่น

ไซ่ฮั่นเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่แพร่หลายมากเรื่องหนึ่งของจีน ได้รับคัดเลือกรวมอยู่ในหนังสือชุด “นิยายยุคเก่าที่มีชื่อเสียง ๑๐๐ เรื่อง” ฉบับภาษาจีน ชื่อเต็มว่า “ไซ่ฮั่นทงซกเอี้ยนหงี” หรือ “ซีฮั่นทงสูเอี่ยนอี้”

ในภาษาจีนกลาง ไซ่ฮั่น หรือซีฮั่น หมายถึง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกเรียก ไซ่ฮั่น คือ ฮั่นตะวันตก ช่วงหลังเรียก ตั้งฮั่น คือ ฮั่นตะวันออก)

ทงซก หรือทงสู แปลเอาความได้ว่า เข้าถึงสามัญชน เหมาะแก่สามัญชน

เอี้ยนหงี หรือเอี่ยนอี้ แปลว่า แสดงความหมาย (ของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์) ชื่อเต็มของนิยายเรื่องนี้จึงมีความหมายว่า “(นิยาย) แสดงความหมายของประวัติศาสตร์ยุคไซ่ฮั่นสำหรับสามัญชน”

ผู้แต่งนิยายเรื่องนี้มีแซ่และชื่อตามเสียงจีนกลางว่า เจินเหว่ย แต้จิ๋วว่า จิงอุ้ย เขาตั้งสมญาตัวเองว่า “จงซานจีว์ซื่อ” หมายถึง “ผู้ปลีกวิเวกแห่งภูเขาจงซาน” เป็นชาวเมืองนานกิง (หนันจิง) สมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ. ๑๙๑๑–๒๑๘๗) แต่ไม่ทราบปีเกิดปีตายและประวัติชีวิตของเขา สันนิษฐานได้เพียงว่า น่าจะเป็นคนรุ่นหลังล่อกวนตง (หลอกว้านจง) ผู้แต่งเรื่องสามก๊กผู้มีชีวิตอยู่ช่วงปลายราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๒–๑๙๑๑) ถึงต้นราชวงศ์หมิง

นิยายเรื่องนี้ผู้แต่งปรับปรุงขยายความมาจากเรื่อง “หลีเฮาประหารฮั่นสิน” ซึ่งเป็นบทสำหรับเล่านิทานของนักเล่านิทานสมัยราชวงศ์หยวน โดยในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. ๑๕๐๓–๑๘๒๒) และราชวงศ์หยวน

ในภาษาจีนนั้นนิยมพิมพ์เรื่องไซ่ฮั่น (ฮั่นตะวันตก หรือฮั่นตอนต้น) รวมกับเรื่องตั้งฮั่น (ฮั่นตะวันออก หรือฮั่นตอนปลาย) จบเรื่องของราชวงศ์ฮั่นสองเรื่องนี้แล้วจึงถึงเรื่องสามก๊ก เรื่องตั้งฮั่นด้อยกว่าเรื่องไซ่ฮั่นทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และแง่วรรณคดี แต่เนื่องจากเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน